A PART OF MY LIFE

A PART OF MY LIFE
เป็นเวปในฝัน ที่ทำเพื่อ "บูชาครูการละคร" ทั้งหลายที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาศิลปการละครให้แก่ข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าได้นำความรู้เหล่านั้นมาหากินเลี้ยงชีพมาตราบจนทุกวันนี้ เช่น ครูใหญ่ อ.สดใส พันธุมโกมล,ครูช่าง อ.ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง,ครูแอ๋ว อ.อรชุมา ยุทธวงศ์,ครูอุ๋ย อ.พรรัตน์ ดำรุง,พี่อี๊ด สุประวัติ ปัทมสูต,อารอง เค้ามูลคดี,อาโต รัชฟิล์ม และอีกหลายๆท่าน โดยนำคำสอนของบรรดาครูทั้งหลาย และเหล่าพี่น้องภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่รัก "ละครเวที" ครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551

อารอง

นายอำนาจ (รอง) เค้ามูลคดี

อารอง หรือพ่อรอง เป็นคนที่มี “วินัย” ในการทำงานสูงมาก เหมือนนักแสดงรุ่นเก่าๆที่ข้าพเจ้าได้พบมาคือ รักษาเวลา อารองและนักแสดงรุ่นเก่าจะมาก่อนเวลานัดเสมอ จะถ่ายหรือไม่ถ่ายก็ไม่บ่น มาถึงก็ทานข้าว แล้วก็หามุมสงบท่องบท (ซึ่งได้ท่องมาตั้งแต่ได้รับบทแล้ว) ไม่เร่ง ไม่หงุดหงิด เป็นกันเอง จะรอนานเท่าไหร่ก็ไม่ว่า เพราะเรารับงานมาแล้ว ต้องทำให้ดีที่สุด ข้าพเจ้าคิดว่า วินัยในการแสดงแบบนี้ หายากยิ่งในนักแสดงปัจจุบัน

อารองมักพร่ำสอนข้าพเจ้าเสมอๆว่า “ไอ้แก้ว ไม่ว่าเอ็งจะทำอะไรก็ตาม อารองขอให้แก้วมี <สติ> เสมอ เพราะถ้าเรามีสติ ก็จะรู้ตัว และทำงานได้สำเร็จลุล่วง นักแสดงบางคนไม่มีสติในการแสดง แต่จะไปเอาสตางค์เค้า ใครเค้าจะให้เอ็งวะ นอกจากสติก็ต้องมีวินัย.......”

ข้าพเจ้าไปค้นหาความหมายของคำว่า “สติ” มาจากเวป www.dhammaforlives.com ได้ดังนี้
สติ หมายถึง ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง,จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์)

สติ แปลว่าความระลึกได้ความนึกขึ้นได้หมายถึงอาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืมไม่เผลอไผลฉุกคิดขึ้นได้ระงับยับยั้งใจได้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความไม่ประมาท

สติเป็นธรรมมีอุปการะมากคือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอป้องกันความเสียหายเบื้องต้นเป็นเหตุให้ฉุกคิดยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่ามและกระตุ้นให้นึกถึงชีวิตจนทำให้เสียสละทำความดีงามต่างๆได้แต่หากขาดสติแล้วจะเป็นเหตุให้ทำอะไรผิดพลาดพลั้งเผลอและเสียหายร่ำไป
(พระธรรมกิตติวงศ์ พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด, วัดราชโอรสรามกรุงเทพฯ พ.ศ. 2548)

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

คนดูละคร สำคัญอย่างไร





ครูช่างเล่าให้ฟังว่า หัวใจของละคร ที่สำคัญที่สุดคือคนดู วันนี้ วินาทีนี้ ต้องใช้คำว่า คนดูสำคัญที่สุด เพราะเดี๋ยวนี้ เราไม่ดูละคร(เวที)กัน อาจเป็นเพราะว่า บรรยากาศมันไม่เอื้อ นึกย้อนกลับไปเมื่อ 30-40ปีเนี่ยะ พอลิเกมาเล่นที่หมู่บ้าน รีบฝัดข้าว รีบทำงาน รีบเอาลูกอาบน้ำอาบท่า ช้าไม่ได้ รีบวิ่งข้ามคันนาไปเพื่อไปดูลิเก บรรยากาศ(สมัยนั้น)มันเป็นอย่างนี้ ตั้งแต่สมัยก่อน คนดูละคร แต่สมัยนี้ คนไม่ดูละคร ทั้งๆที่ ชาติทั้งชาติ ตลกมากนะที่คนไทยทุกคนรู้จักรามเกียรติ์กันทั้งชาติ ก็แสดงว่า คนไทยเป็นนักดูที่ดี แล้วพอมีปัญหาที่ว่า คนไทยไม่ดูละครกัน นี่คือสาเหตุที่ครูมาทำคณะละครมรดกใหม่ เพราะคิดว่าคนจะชอบดูละคร หลังจากทำไปสักพัก คิดว่าคนอยากดูละคร แต่พอเอาเข้าจริงๆแล้ว เอาแบบชีวิตรูปแบบปัจจุบันนี้ คนไม่ชอบดูละคร เอาคนฝีมือดีๆมา แต่คนก็ไม่ดูละคร สรุปแล้วสิ่งที่เราจะสร้างไม่ใช่สร้างละคร แต่สร้างคนดูละคร เพราครูเชื่อว่า "คนดูคือนักแสดงละครที่ดีที่สุด" นี่คือหัวใจของที่นี่เลย คือการทำให้คนดูนั้นดูละครให้ได้ จู่ๆจะเดินไปบอกให้คนนั้นคนนี้มาดูละคร มันเป็นไปได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้โรงเรียนต่างๆ การดูละครเป็นแค่กิจกรรมให้เด็กแค่นั้น ไม่ได้ดูเพราะอยากดูจริงๆ เพราะไม่รู้ ขี้เกียจสอนเด็กก็ให้เด็กมาดูละครเป็นแค่กิจกรรมเฉยๆ แต่ไม่ได้ดูเหมือนที่ไปดูลิเกอะไรต่างๆ นานา ไปดูแล้วเพื่อเอาความรู้มา พอไปดูลิเกที่วัดใหญ่มาแล้วมาสอนลูกสอนหลานอีก คติต่างๆ เดินกลับบ้านก็ยังคุยกัน แล้วนึกถึงตอนนั้นสิ ประเทศเรามีความสุขแค่ไหนเมื่อชาติบ้านเมืองเต็มไปด้วยคนดูละคร

ละครคืออะไร


ปรัชญามรดกใหม่



ครูช่างบอกว่า มรดกใหม่มีปรัชญาในการดำรงชีวิตในการละคร หรือชีวิตทั่วๆไป 6 ข้อดังนี้

1. พร้อมใจกันทำ พร้อมใจกันเลิก
2. ทำแล้วทำเล่า จนทำได้
3. อยู่อย่างต่ำ ทำอย่างสูง
4. แผ่วที่ผล ทำที่เหตุ
5. ไม่มีเรื่องเล่าที่เล่าไม่ได้ มีแต่นักแสดงที่เล่าไม่เป็น
6. เป็นอย่างที่กิน เป็นอย่างที่อ่าน เป็นอย่างที่สอน
ส่วนความหมายลึกๆของแต่ละข้อ ข้าพเจ้าจะนำมาลงทีหลัง ตีความเองกลัวผิดครับ

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551

ครูช่างกับการแสดง


ครูช่างมักเน้นเสมอ ถึง "ความรู้สึกครั้งแรกในการแสดง" หรือครูเรียกว่า "พรหมจรรย์" ครูบอกว่า ทุกครั้งที่เราแสดง ให้ระลึกอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนเวทีนั้น เป็น "ครั้งแรก" ของเราเสมอ ไม่ว่าเราจะแสดงกี่ร้อยรอบ กี่ร้อยครั้งก็ตาม ครูบอกว่า นักแสดงส่วบใหญ่จะ "ลืม" ความรู้สึกนี้ ลืมแม้กระทั่งความรู้สึกตื่นเต้นในการแสดง "ครั้งแรก" ของเรา ทำให้นักแสดงเหล่านั้น "ประมาท" ในการแสดง บางตนนึกว่าตัวเองเก่งแล้ว ไม่ต้องซ้อม ไม่ต้องblocking ไม่ท่องบท ทำให้บางครั้งความรู้สึกที่แสดงออก จะไม่สมจริง เช่น ในชีวิตจริง การได้จับมือคนรักครั้งแรก กับการจับมือในครั้งต่อๆไป ความตื่นเต้น ความดีใจ ความปลาบปลื้ม ความรู้สึกอื่นๆจะลดลง หรือกลืนหายไป ในการแสดง การจับมือคนรัก ต้องรู้สึกเหมือน "ครั้งแรก" ทุกครั้งเสมอ

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2551

ครู พี่ เพื่อน

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ
นังปุ๊ย พี่ตุ๊ก พี่แด ครูใหญ่ น้องอ้น น้องเล็ก น้องลิตา พี่แอ๊นท์ ครูแอ๋ว น้อง.... และยุ่น
ถ่ายกับครูใหญ่ครับ ยังสวยเหมือนเดิม
พี่สาวผู้น่ารัก
น้องอ้น ฐานวดี สถิตย์ยุทธการ นักเขียนบทมือหนึ่ง
ครูแอ๋ว อรชุมา ยุทธวงศ์
ครูนิต คณิต คุณาวุฒิ ออกแบบฉากได้สวยมาก
ครูนพ นพมาศ แววหงส์
ลลิตา ฉันทศาสตร์โกศล นักเขียนบทละครตัวยง
ปุ๊ย ผอูน กับพี่ตุ๊ก กำลังคร่ำเคร่งกับการกิน
รูปนี้ไม่มี MOSAIC นะพี่ตุ๊ก ดูได้ทุกเพศทุกวัย

ครูแอ๋วกำลังจะออกหนังสือเกี่ยวกับงานของท่านเร็วๆนี้ ติดตามข่าวกันนะครับ
ยิ่งยศ ปัญญา ผู้กำกับ และนักเขียนบทคนเก่ง เพื่อนร่วมชั้นเรียน
ปุ๊ย ผอูน จันทรศิริ ผู้กำกับ นักแสดง นักเขียนบท


เพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 ข้าพเจ้าได้ไปรดน้ำอวยพรครูใหญ่ (อ.จ.สดใส) ครูแอ๋ว(อ.จ.อรชุมา) ครูนิต (อ.จ.คณิต) และครูนพ (อ.จ.นพมาศ) ที่บ้านครูแอ๋ว แถวสุทธิสาร ข้าพเจ้าได้เจอครู เจอพี่ เจอเพื่อน เจอน้องหลายคน สนุกมากครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

สุรทิน โอฬาวนิช

สุรทิน โอฬาวนิช

"อาโต" เป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังจริงๆ อาโตเป็นผู้กำกับการแสดง เป็นผู้กำกับรายการ เป็นนักแสดง (เช่นเจ้าต๋องจอมยุ่ง,หุ่นไล่กา ท่านเล่นเป็นแม่มด) อาโตทำงานอยู่ที่รัชฟิลม์สตูดิโอ ลาดพร้าว 64 มานานมาก อยู่มาตั้งแต่ปี 2520 สิริรวม 41ปีแล้ว เรื่มกำกับครั้งแรกปี 2522 เรื่องชุมทางชีวิต ซึ่งได้รางวัลเมขลาในปีต่อมา เล่นเป็นตัวร้ายในเรื่อง "ลุกกรอก" เด็กๆสมัยน้นจะกลัวอาโตมาก เพราะกลัวถูกจับฉีดยาดองเป็นลูกกรอก อาโตโฆษณาข้าวเกรียบหลอด SB ที่มีประโยคติดปากว่า "ของแท้ พิมพ์นิยม" อาโตอยู่ในวงการมานานมาก มีความรู้มากมาย ใจดี และที่สำคัญ ไม่หวงวิชาความรู้ ข้าพเจ้าอยากรู้อะไรในด้านภาพ (ข้าพเจ้าทำงานด้านกำกับภาพด้วย) ด้านการจัดแสง หรือด้านใดๆก็ตาม อาโตจะอธิบายให้ฟังอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เรื่องดีๆยังมีอีกมากครับ สังเกตุให้ดี รูป "ครู" ทั้งสองท่านของข้าพเจ้า ทั้งคู่มีความ "ขี้เล่น" แฝงอยู่ รูปนี้ข้าพเจ้าชอบมากครับ

สุประวัติ ปัทมสูต

สุประวัติ ปัทมสูต

"พี่อี๊ด" สุประวัติ ปัทมสูต หนึ่งในผู้กำกับละครชั้นนำของวงการละครไทย พี่อี๊ดเป็นรุ่นพี่ที่สวนกุหลาบ ข้าพเจ้าได้สัมผัสความเป็น "สุประวัติ" มาเกือบ20ปี สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้ายอมรับคือ พี่อี๊ด "เก่ง" พี่อี๊ดมีอะไรหลายๆอย่าให้ข้าพเจ้าได้ศึกษา และที่สำคัญ พี่อี๊ดไม่เคยหวงวิชา พี่อี๊ดมีมุมมองของ "ละครสมัยใหม่" และ "ละครสมัยเก่า" และสามารถนำแนวละครทั้งสองอย่างมาผสมผสานกันได้อย่างมีรสชาด พี่อี๊ดเก่งเรื่องไทยๆ เรื่องลิเก ละครร้อง โขน ละครย้อนยุค และทีถนัดคือ ละครตลก พี่อี๊ดสามารถร้องลิเกกลอนสดได้ ข้าพเจ้าเห็นพี่อี๊ดมีความสุขกับการทำละคร พี่อี๊ดเป็นผู้กำกับที่สร้างบรรยากาศความสนุกสนานในการทำงาน น้อยครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นพี่อี๊ดโกรธเวลากำกับ พี่อี๊ดเป็นนักแสดงที่แสดงได้หลายบทบาท เป็นผู้กำกับที่ทำงาน "ละคร" เพื่อให้เป็น "ละคร" อย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (การทำทำละครแต่ละเรื่อง จะมีปัจจัยหลายๆอย่างมา "บีบบังคับ" ให้การทำงานไม่เป็นไปดังฝัน เช่น พระเอกใบสั่ง นางเอกใบซื้อ เล่นละครได้อย่างกับท่อนไม้ก็มี พูดภาไทยไม่ชัดแต่ต้องเล่นเป็นคนไทยโบราณก็มี) คำสอนและเรื่องราวสนุกสนานของท่าน ข้าพเจ้าจะทยอยนำมาลงให้ได้ศึกษาครับ

ครูช่าง

ครูช่าง อ.จ.ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง

หนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการละครของข้าพเจ้า และศิษย์อีกหลายๆคน ครูช่างกลับมาสอนที่เมืองไทยครั้งแรกในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตอนที่ข้าพเจ้าเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1(พ.ศ.2523) และครูช่าง ยังเป็นพี่ชายของเพื่อนข้าพเจ้าสมัยเรียนที่ สาธิต สวนสุนันทาอีกด้วย ครูช่างเคยเล่า(ด้วยความภาคภูมิใจ) ว่าครูไปเรียน DRAMA ที่UNIVERSITY OF MONTANA ครูเรียนฟรี ทุกคนก็จะงงว่า เรียนฟรีได้ไง ครูบอกว่า ครูไปหลอก DEAN ที่นั่นว่า ครูเป็นอินเดียนแดง สมัยนั้นใครเป็นอินเดียนแดงเค้าให้เรียนฟรื เรื่องราวของ "ครูช่าง" กับข้าพเจ้าเป็นเรื่องราวที่สนุกสนาน มุมมองการละครของครู จะว่าแปลกก็แปลก จะว่าไม่แปลก ก็ไม่แปลก จะว่าขวางโลก ก็ไม่เชิง จะว่าไม่น่าเอามาใช้ ก็ต้องหยิบมาใช้ เอาไว้ข้าพเจ้าจะค่อยๆนำเสนอเรื่องราวของท่านในภายหลังครับ รูปนี้ถ่ายไว้นานมาก สมัยที่ข้าพเจ้าเล่นละครทีวีที่ช่อง 7 เรื่อง "ดักแด้กับมะเดื่อ" ที่ครูแอ๋ว ครูอุ๋ย และครูช่างร่วมกันผลิต ข้าพเจ้าเล่นเป็น "หนอนแก้ว" เทวดาที่ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาหาความดี เล่นกับพี่โย ญาณี ตราโมท,พี่ตุ๊ก ญานี จงวิสุทธิ์,ครูช่าง,น้องดาว (น้องครูช่าง น่ารักมาก อิอิ)และอีกหลายๆคนครับ เป็นละครที่สร้างชื่อให้กับข้าพเจ้าเป็นเรื่องแรก จนทุกวันนี้ยังมีคนเรียกข้าพเจ้าว่า "หนอนแก้ว" อยู่เลย

Romantic Comedy





Comedy ประเภทต่าง ๆ


Comedy แยกออกเป็นหลายแบบหลายระดับ ในระดับที่สูงสุด Comedy จะมีลักษณะเป็นวรรณกรรมชั้นสูง แต่ในระดับที่ต่ำสุดก็จะมีความใกล้เคียงกับ Farce จนบางครั้งแยกกันไม่ออก ฉะนั้น นักทฤษฎีการละครหลายท่านจึงเรียก Farce ว่าเป็น คอเมดี้ชั้นต่ำ (Low Comedy) และรวม Farce เข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกับ Comedy โดยถือว่าเป็นละครตลกเช่นเดียวกันและมีความแตกต่างกันที่ระดับเท่านั้น แต่อีกหลายท่านก็แยก Farce ออกจาก Comedy โดยให้ความเห็นว่า Farce มีความแตกต่างจาก Comedy เท่าๆ กับที่ MELODRAMA แตกต่างจากTRAGEDY อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาศิลปะการละคร ควรจะมีความเข้าใจถึงลักษณะของ Comedy ประเภทใหญ่ดังนี้ คือ



สุขนาฏกรรม (Romantic Comedy)


ละคร comedy ประเภทนี้ถือเป็น วรรณกรรมชั้นสูง เช่น สุขนาฏกรรมของ วิลเลียม เชกสเปียร์ เรื่อง เวนิสวานิช (The Merchants Of Venice), ตามใจท่าน (As You Like It) และ ทเวลฟธ์ ไนท์ (Twelfth Night) ฯลฯ เป็นต้น ละครประเภทนี้นิยมใช้เรื่องราวที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็เป็นเรื่องราวที่น่าเชื่อ สมเหตุสมผล ตัวละครจะประกอบด้วยพระเอกนางเอกที่มีความสวยงามตามอุดมคติ พูดจาด้วยภาษาที่ไพเราะเพราะพริ้ง และมักต้องพบกับอุปสรรคเกี่ยวกับความรักในตอนต้น แต่เรื่องก็จบลงด้วยความสุข ซึ่งมักจะเป็นพิธีแต่งงานหรือการเฉลิมฉลองที่สดชื่นรื่นเริง


แต่บทบาทสำคัญที่ดึงดูดความสนใจและเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูในละครประเภทสุขนาฏกรรมนี้มักไปตกอยู่กับ ตัวละครที่มีลักษณะเป็นตัวตลกอย่างแท้จริง หาใช่ตัวพระเอกหรือนางเอกไม่ ตัวตลกเหล่านี้รวมถึงตัวตลกอาชีพ (clown) ที่มีหน้าที่ยั่วให้คนหัวเราะด้วยคำพูดที่คมคาย เสียดสี หรือการกระทำที่ตลกโปกฮา ซึ่งฉากการแสดงตลกในสุขนาฏกรรมเหล่านี้ บางครั้งก็เต็มไปด้วยความขบขันจากนิสัยใจคอและคารมที่แยบคายลึกซึ้งในลักษณะของ comedy แต่บางครั้งก็มีลักษณะเอะอะตึงตังใกล้เคียงไปทาง Farce แต่เมื่อพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของเรื่องราวที่ผูกขึ้นอย่างมีศิลปะ บทเจรจาซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาที่ไพเราะเพราะพริ้งเข้าขั้นภาษาในวรรณคดี และตัวละครส่วนใหญ่ที่มีความน่าเชื่อในลักษณะนิสัย ก็ต้องถือว่าเป็นละครประเภทสุขนาฏกรรมหาใช่ Farce ไม่
เรื่องประเภทสุขนาฏกรรมนี้ แม้จะจัดอยู่ในประเภท Comedy แต่ก็มิใช่ละครตลกขบขันอย่างแท้จริง ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องเช่น comedy ประเภทอื่น คือมีลักษณะเป็นวรรณกรรมการละครที่มีความงดงามทั้งในแง่ภาษาและภาพที่ปรากฏบนเวที ให้ความสุขแก่ผู้ชมจากหัวเราะฉากตลกต่าง ๆ และจากการที่ตัวเอกได้พบกับความสมหวังเกี่ยวกับความรักในตอนจบ ฉะนั้น comedyประเภทนี้ จึงเป็นละครประเภทเดียวในบรรดา comedy ทั้งหลายที่สมควรจะเรียกได้ว่า
“สุขนาฏกรรม”

ที่มาของ Comedy


ที่มาของ Comedy

ละครประเภท Comedy ซึ่งมีลักษณะเป็นละครประเภทตลกขบขัน ถือกำเนิดมาจากพิธีเฉลิมฉลองเทพเจ้าDIONYSUSของกรีกเช่นเดียวกับละครประเภทTRAGEDY ในขณะที่TRAGEDYพัฒนามาจากการขับร้องเพลงสวดบูชาที่เรียกว่า DYTHYRAMB ซึ่งเป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นพิธีการนั้น Comedy ก็พัฒนามาจากการขับร้องเพลงสนุกสนานเฮฮา (revel – song) ของพวกที่ติดตามขบวนที่แห่แหนเทวรูปของDIONYSUS




กล่าวคือ ชาวกรีกถือว่าเทพเจ้าDIONYSUSเป็นเทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น ฤดูใบไม้ผลิ และความอุดมสมบูรณ์ สามารถนำความชื่นชมแห่งชีวิตมาสู่มนุษย์ได้ ดังนั้น เพื่อที่จะแสดงถึงความชื่นชมในชีวิตอันมีเทพเจ้าDIONYSUSเป็นสัญลักษณ์ บรรดาผู้รักความสุขสนุกเฮฮาทั้งหลายจึงพากันแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าและหน้ากากที่แสดงถึงความสนุกรื่นเริง แบกเหยือกเหล้าองุ่นซึ่งคงจะได้ดื่มมาบ้างแล้วจนเกิดความคึกคักในจิตใจ ร้องเพลงอย่างสนุกสนานติดตามท้ายขบวนแห่ไป ระหว่างที่ดื่มเหล้าองุ่นไปร้องเพลงไปนั้น ก็มีการแต่งคำพูดคำกลอนล้อเลียนเสียดสีกันอย่างตลกขบขัน บรรดาชาวบ้านชาวเมืองที่รักสนุกต่างก็พากันมาร่วมรื่นเริงและสรรหาถ้อยคำมาเจรจาล้อเลียนโต้ตอบกับพวกตลกท้ายขบวนแห่เหล่านี้็็ จนทำให้เกิดมีทั้งบทเจรจาและบทเพลงซึ่งสนุกสนานครึกครื้น กลายเป็นประเพณีนิยมที่ถือปฏิบัติกันตลอดมาจนกระทั่งพวกตลกท้ายขบวนแห่และการสรวลเสเฮฮาดังกล่าวมาได้ชื่อเรียกว่า “โคมุส” (Comus) และเพลงที่พวกนี้ขับร้อง ซึ่งเต็มไปด้วยถ้อยคำล้อเลียนเสียดสีตลกขบขันก็มาได้ชื่อว่า “โคมุส – โอด” ( Comus – Ode) ซึ่งอาจแปลได้ว่า “เพลงเฮฮา” (revel – song)

และต่อมาเมื่อ “เพลงเฮฮา” ดังกล่าวได้มีการพัฒนาไปจนกลายเป็น "ละครตลก" ซึ่งมีทั้งนักแสดงและกลุ่มนักร้อง ละครตลกที่เกิดขึ้นจึงได้ชื่อเรียกว่า คอเมดี ( Comedy ) และคำนี้ก็ยังใช้เรียกละครที่มีลักษณะตลกขบขันมาจนถึงทุกวันนี้

จาก Farce ไปสู่ Comedy


เมื่อได้ทราบถึงลักษณะของละครตลกขั้นพื้นฐานหรือ Farce พอสมควรแล้ว ผู้ศึกษาคงจะพร้อมที่จะทำความเข้าใจกับละครตลกในขั้นที่สูงขึ้นไปคือ Comedy ซึ่งก็มีวิวัฒนาการจากละครตลกขั้นพื้นฐานนั่นเอง แต่ละครตลกประเภท Comedy นั้น เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีวัฒนธรรมมากขึ้น มีขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ไพเราะเพราะพริ้งขึ้น มีความคิดอ่านที่สุขุมรอบคอบและอารมณ์ขันที่ลึกซึ้งขึ้น จึงทำให้รู้จักคิดสร้างสรรค์ละครตลกที่แนบเนียนคมคาย แทนที่จะเป็นตลกชนิดโจ่งแจ้ง โปกฮา เอะอะตึงตัง และใช้ท่าทางมากเท่ากับตลกประเภท Farce แต่ในขณะเดียวกัน Comedy ที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เช่น Comedy ของกรีกในสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ก็มีลักษณะตลกโปกฮาของ Farce แทรกอยู่เป็นอันมาก และแม้ใน Comedy ประเภทสุขนาฏกรรมของเชกสเปียร์เองก็ยังมีบทบาทที่มีลักษณะเป็น Farce เฉพาะอย่างยิ่งในบทบาทของตัวตลกและตัวคนใช้แทรกอยู่มิใช่น้อย