A PART OF MY LIFE

A PART OF MY LIFE
เป็นเวปในฝัน ที่ทำเพื่อ "บูชาครูการละคร" ทั้งหลายที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาศิลปการละครให้แก่ข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าได้นำความรู้เหล่านั้นมาหากินเลี้ยงชีพมาตราบจนทุกวันนี้ เช่น ครูใหญ่ อ.สดใส พันธุมโกมล,ครูช่าง อ.ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง,ครูแอ๋ว อ.อรชุมา ยุทธวงศ์,ครูอุ๋ย อ.พรรัตน์ ดำรุง,พี่อี๊ด สุประวัติ ปัทมสูต,อารอง เค้ามูลคดี,อาโต รัชฟิล์ม และอีกหลายๆท่าน โดยนำคำสอนของบรรดาครูทั้งหลาย และเหล่าพี่น้องภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่รัก "ละครเวที" ครับ

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนบทแบบง่ายๆ ตอนที่ ๒

การเขียนบทแบบง่ายๆ ตอนที่ ๒
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน หลายท่านคงรู้สึกอึดอัดใจ และก่นด่าผมว่า มาทำให้เครียดและทำให้อยากรู้อีก
ขณะที่เขียน ผมก็พิมพ์ไป จามไป รู้สึกเหมือนถูกก่นด่าตลอดเวลา
เรามาเล่าเรื่องราวกันต่อดีกว่าครับ
คราวที่แล้วเราพูดกันถึงเรื่องที่ว่า ทำไมเราถึงกลัวที่จะเล่า “เรื่องที่เล่าให้ใครฟังไม่ได้”

แต่เราก็ยังก็รู้สึกผิด และอยากจะเล่าให้ “ใครสักคน” ฟัง
แต่ “ใครสักคน” ในที่นี้ หมายถึง คนที่เราอยากเล่าให้ฟังที่สุด
“เพียงคนเดียว"
ครูบอกว่า ถ้ามันเล่าเรื่องได้ง่ายๆ ป่านนี้เราคงเดินเข้าไปหาคนๆนั้นแล้วก็บอกว่า

เฮ้ยกูมีเรื่องที่ทำเลวกับมึงไว้ คือเรื่องนี้นะ
พอเล่าจบแล้วเพื่อนหัวเราะแล้วกอดคอพาเราไปเลี้ยงเหล้า มันก็ดีสิ
แต่ในชีวิตจริง คนเรามีความกลัว กลัวไปต่างๆนานา แต่กลัวคนที่จะรู้เรื่องเลวๆของเรา ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
สิ่งเหล่านี้มันเหมือนตราบาปที่ติดตามตัวเรา เราจะรู้สึกไม่สบายใจทุกครั้งที่นึกถึง
เมื่อมันทำให้ไม่สบายใจ เราก็ต้องหาทางออก เราก็จึงต้องหาทางเล่า ต้องหาทางระบาย
เลยมีการเขียนเป็นเรื่องราวขึ้นมา
โดยเรื่องราวนั้นมีการเล่าเรื่องที่ “เป็นความจริงที่ไม่ต้องสร้างเสริมเติมแต่งขึ้นมา”
เพราะเป็นเหตุการณ์จริงๆที่เกิดขึ้นกับเรามาแล้ว ตัวละครก็ไม่ต้องสร้าง เพราะตัวละครนั้น ก็มีอยู่จริงในชีวิตเรา
ตัวละครทุกตัวจะมี เหตุ และ ผล การกระทำนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นการเขียน “เรื่องที่เล่าให้ใครฟังไม่ได้” เป็นบทละครนั้น เป็นการเขียนบทละครที่ง่ายที่สุด
จะเรียกว่า เขียน ก็ไม่เชิง อาจเรียกได้ว่า เล่าเรื่องที่ผ่านมาแล้ว
เพราะเราจะจำภาพเหตุการณ์ต่างเกิดขึ้นได้เป็นฉากๆ เราจะจำ DIALOGUE ทุกคำของตัวละครทุกตัว
เราจะรู้ถึงเหตุและผลของคำพูดและการกระทำนั้นๆ ของแต่ละตัวละคร
แต่จะเล่าโดยวิธีไหน เล่าอย่างไรนั้น อยู่ที่วิธีของผู้เขียนที่จะนำเสนอ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องนี้คือ เราต้องคิดก่อนว่า เรื่องที่เราจะเล่านั้น

“ใครเป็นคนที่รับฟังไม่ได้ที่สุด” เพราะอะไร
แต่เราต้องหาทางเล่าให้คนๆนั้นฟังให้ได้ และทำไมเราถึงต้องเลือกที่จะเล่าให้เขาฟังเพียง “คนเดียว”
และคิดว่า เมื่อเขาได้รับรู้และรับฟังเรื่องราวนี้แล้ว เขาจะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนั้นๆ
และคิดว่า เขารู้สึกกับเราอย่างไร
ในการเขียนบทละคร เราต้องยึดหลักของ “แก่นของเรื่อง” หรือ THEME

เมื่อเรามาทบทวนถึงเรื่องเลวๆของเราที่ต้องเล่าแล้ว
ก็มาดูว่า เรื่องของเรา มันจะเข้า THEME ว่าอย่างไร
วิธีคิด THEME ของครูก็ง่ายๆ คือมีสองคำ แค่คำว่า “อย่า” กับ “จง”

และถ้าเราจำพวกสุภาษิตคำพังเพยได้ ก็เอาไปเปรียบเทียบกันก็ได้
หลายท่านอาจนึกในใจว่า อ๋อ....ใช่สิ ที่แกว่ามันง่ายเพราะแกเรียนมานี่

ส่วนชั้นเพิ่งเรียนและยังไม่เข้าใจ ถึงต้องมาอ่านบทความแกอยู่นี่ไง
อ้าว....อย่างน้อยสำนวนสุภาษิต หรือคำพังเพยของไทยนั้น ผมเชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักบ้าง ไม่มากก็น้อย
แล้ว THEME ของเรื่องที่เราอยากเล่า มาจากไหน
ก็มาจากเหตุผลที่ว่า เราอยากจะเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังที่สุด เพราะอะไร
เหตุผลที่แท้จริงที่เราอยากเล่าให้ฟังนั่นแหละ คือ THEME
และเราก็จะมี "ความจริงใจ" กับ THEME นั้นๆ
และ THEME ที่ว่านั้น เป็นสิ่งที่เราอยากบอกคนๆนั้น ว่า “อย่า” กับ “จง” อะไร
เพราะเราสามารถเปรียบเทียบคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ว่า
จงดำรงตนเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น และตนเอง
ละครที่เราดู ส่วนมากจะผู้เขียน จะบอกอะไรแก่ผู้ชมเสมอ ไม่ได้บอกตัวกับตัวผู้เขียนเอง
เมื่อผู้ชมได้ดู หรือได้รับรู้ NEED TO EXPRESS ของผู้เขียนแล้ว
ผู้ชมก็จะสามารถสัมผัส หรือ รับรู้ THEME ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารได้โดยปริยาย
แต่ครูอยากให้คิดวิธีการนำเสนออย่างไม่มีข้อจำกัด
หมายถึง การสารภาพ หรือการเล่าเรื่อง หรือการนำเสนอนั้น ไม่จำเป็นต้องนำเสนอในรูปแบบของละครเสมอไป
ในแง่ของศิลปะ อะไรที่ศิลปินต้องการสื่อสาร หรือต้องการบอกบางอย่างแก่ผู้ชม
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ถือเป็นงานศิลปะทั้งสิ้น
เราอาจเล่าเรื่องเลวๆของเรา ด้วยการเขียนบทกวี ด้วยการแต่งเพลง

ด้วยการเต้น TEMPOLARY DANCE ด้วยการวาดรูป ด้วยการแกะสลัก หรือด้วยวิธีการใดๆก็ได้
ขอให้ยึดมั่นใน “เรื่องเลวๆที่สุดของเรา” ที่อยากจะเล่า ที่จะเล่าให้ใครที่ฟังไม่ได้ที่สุดฟังแค่คนเดียว

โดยคิดว่า ทำไมถึงต้องตัดสินใจเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟัง แล้วเมื่อเขาฟังแล้ว จะรู้สึกอย่างไร
อย่างน้อยเป็นการกล่าวคำว่า ขอโทษ หรือเสียใจ ผ่านกระบวนการนำเสนอนั้นๆ
ง่ายไหมครับ

หากยังไม่เข้าใจถ่องแท้
สามารถอ่านบทความเรื่อง
PERSONAL TOUCH ประกอบได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: