A PART OF MY LIFE

A PART OF MY LIFE
เป็นเวปในฝัน ที่ทำเพื่อ "บูชาครูการละคร" ทั้งหลายที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาศิลปการละครให้แก่ข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าได้นำความรู้เหล่านั้นมาหากินเลี้ยงชีพมาตราบจนทุกวันนี้ เช่น ครูใหญ่ อ.สดใส พันธุมโกมล,ครูช่าง อ.ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง,ครูแอ๋ว อ.อรชุมา ยุทธวงศ์,ครูอุ๋ย อ.พรรัตน์ ดำรุง,พี่อี๊ด สุประวัติ ปัทมสูต,อารอง เค้ามูลคดี,อาโต รัชฟิล์ม และอีกหลายๆท่าน โดยนำคำสอนของบรรดาครูทั้งหลาย และเหล่าพี่น้องภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่รัก "ละครเวที" ครับ

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาของการแสดงที่มักพบ

มีหลักปฎิบัตที่มักใช้กันอย่างแพร่หลาย (COMMON PRACTICE) และได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าถูกต้อง แต่แท้จริงกลับเป็นสิ่งที่ทำให้นักสดง “หลงทาง” อาจเรียกได้ว่า “สมาธิผิดที่” และนำไปสู่ปัญหาของการแสดง ได้แก่

- การเริ่มต้นที่อารมณ์ความรู้สึก โดยนักแสดงพยายาม “สร้าง” (BUILD) อารมณ์ไว้ล่วงหน้า หรือผู้กำกับสั่งให้นักแสดง “สร้าง” (BUILD) อารมณ์ มักทำให้นักแสดง “หลงทาง” และนำไปสู่ “การแสดงที่ใช้อารมณ์เกินขอบเขต” (EMOTIONALISM) จนถึงขั้นที่นักแสดงควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ (HYSTERICAL ACTING) ซึ่งเป็นการทำลาย “ศิลปะ” ของการแสดงอย่าสิ้นเชิง

- ความตั้งใจที่จะแสดงให้เห็น “ลักษณะนิสัย" (CHARACTER) ของตัวละครซึ่งนำไปสู่การแสดงอย่าง “จงใจ”แทนการแสดงอย่าง “จริงใจ

- วิธีการ (APPROCH) ที่ผิดพลาดของผู้กำกับการแสดงที่บอกให้นักแสดง “เปลี่ยน” จากตัวเองไปเป็นตัวละครในเรื่อง มักนำไปสู่ปัญหา “สูตรสำเร็จรูป” ที่ขาด “ความจริง” ทางศิลปะการละคร

- นักแสดงที่สมาธิกับ “ความพยายามแสดงให้ดี” เป็นการสมาธิผิดที่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาของการแสดง

ไม่มีความคิดเห็น: